วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของฟิล์มในการถ่ายภาพทางทางอากาศ




           ประเภทของฟิล์มในการถ่ายภาพทางทางอากาศ

รูปถ่าย (photograph) เกิดมาจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง แสง ที่ตกกระทบบนฟิล์ม กับตัว สารไวแสง
ที่เคลือบอยู่บนฟิล์มนั้น ทำให้เกิดเป็นภาพขึ้น โดยปัจจุบันอาจแยกฟิล์มออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ฟิล์มขาวดำ (black-and-white film หรือ B/W film)
2. ฟิล์มสีธรรมชาติ (natural color film) และ
3. ฟิล์มอินฟราเรดสี (color infrared film)

ทั้งนี้ ฟิล์มขาวดำ อาจแยกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

1. ฟิล์มแพนโครมาติก (panchromatic film) ซึ่งมีช่วงไวแสงอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 ไมโครเมตร
(ช่วงแสงขาว) และ
2. ฟิล์มอินฟราเรด (infrared-sensitive film) ซึ่งมีช่วงไวแสงอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.9 ไมโครเมตร
(ช่วงแสงขาว และ NIR)

ระหว่าง ฟิล์มขาวดำ ทั้งสองแบบ ฟิล์มแพนโครมาติกจะได้รับความนิยมใช้ มากกว่า ฟิล์มอินฟราเรด


** ช่วงการไวต่อแสงของพวก ฟิล์มขาวดำ คือฟิล์มแพนโครมาติกและฟิล์มอินฟราเรด

** ช่วงไวแสงปกติของ ฟิล์มสีธรรมชาติ และ ฟิล์มอินฟราเรดสี


สำหรับ สารไวแสง ที่เคลือบด้านบนของพวกฟิล์มแพนโครมาติกไว้ มักเป็นองค์ประกอบของ ธาตุเงิน
พวก silver helide แขวนลอยอยู่ในสารโปร่งใสพวก gelatin ซึ่งมีความหนาประมาณ 5 ไมโครเมตร

ฟิล์มแพนโครมาติก มีข้อดีคือ มันสร้างภาพตามระดับความเข้ม แบบขาว-ดำ (gray scale) ของรังสี
ในช่วงแสงขาวได้ดี ทำให้ภาพที่ได้มี ความสมจริง มากขึ้น เช่น เมฆมีสีขาว หรือ ผิวน้ำมีสีดำ เป็นต้น

ส่วน ฟิล์มอินฟราเรด จะถ่ายภาพของพวก พืชพรรณ ออกมาได้ดี เนื่องจากพืชพรรณที่สมบูรณ์จะมี
ค่าการสะท้อนแสงในช่วง NIR สูง ทำให้เห็นเป็นส่วนที่สว่างบนภาพ (บนภาพแบบขาวดำ)

สำหรับ ฟิล์มสีธรรมชาติ จะไม่มีสารพวก silver halide ผสมอยู่เหมือนฟิล์มขาว-ดำ แต่มันจะบันทึก
ข้อมูลในช่วงสี แดง เขียว และ น้ำเงิน แยกเป็นชั้นอิสระต่อกันบนแผ่นฟิล์ม โดยชั้นไวแสงของแสง
สีน้ำเงิน จะอยู่ด้านบนสุด ตามมาด้วย แสงสีเขียว และ สีแดง ตามลำดับ

ระหว่างชั้นของ สีน้ำเงินและสีเขียว จะมี ตัวกรอง แสงสีน้ำเงินออกไปจนหมด ทำให้เหลือเฉพาะ
พวกแสงสีเขียวและสีแดงเท่านั้น ที่ผ่านลงไปสู่ชั้นล่างได้


** ภาพตัดขวางของฟิล์มขาวดำพวก ฟิล์มแพนโครมาติก (panchromatic film)

** ภาพตัดขวางของ ฟิล์มสีธรรมชาติ (natural color film) ซึ่งจะแบ่งชั้นของการรับแสงเป็น 3 ชั้น ตามค่าสี

สำหรับ ฟิล์มอินฟราเรดสี จะบันทึกข้อมูลเฉพาะในช่วงคลื่นของแสง สีเขียว แดง และช่วง NIR เท่านั้น โดยแสง
ที่มีความยาวคลื่น ต่ำกว่า 0.5 ไมโครเมตร (แสงสีน้ำเงิน) จะถูกกรองออกไปจนหมด

ภาพที่ได้จากฟิล์มอินฟราเรดสี จะเรียกว่าเป็น ภาพสีผสมเท็จ (false-color photograph) เนื่องจากว่าสีของวัตถุ
ที่ปรากฏ มักจะถูก แต่ง ให้ต่างไปจาก สีจริง ของมันตามธรรมชาติ โดยวัตถุสีเขียวจะเห็นเป็นสีน้ำเงิน สีแดง
เป็นสีเขียว และ รังสีช่วง NIR เป็นสีแดง ตามลำดับ หรือ

Observed: (NIR, Red, Green)  --> Displayed: (Red, Green, Blue)

ฟิล์มอินฟราเรด ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วง WW II เพื่อใช้แยกอาคารหรือวัตถุที่พรางอยู่ในเขตพืชพรรณ ออกจาก
ตัวพืชพรรณจริงที่อยู่รอบข้าง เนื่องจากพืชพรรณจะมีค่าการสะท้อนแสงในช่วง NIR สูงกว่าพวกตัวอาคารมาก
บางครั้งมันจึงถูก เรียกว่าเป็น ฟิล์มตรวจสอบการอำพราง (camouflage detection film)

** ภาพตัดขวางของ ฟิล์มอินฟราเรดสี (infrared color film) ซึ่งจะแบ่งชั้นของการรับแสงเป็น 3 ชั้น ตามช่วงคลื่น

** การตรวจสอบ การอำพราง ซึ่งเกิดจากการใช้พืชพรรณคลุมตัวอาคารไว้ โดยใช้ ฟิล์มอินฟราเรดขาว-ดำ

** ภาพถ่ายโดยใช้ ฟิล์มสีธรรมชาติและฟิล์มอินฟราเรดสี สังเกต สีของพวกพืชพรรณ ที่ปรากฏต่างกันบนภาพ

ตารางเปรียบเทียบ โทนสี ที่ปรากฏของวัตถุหรือพื้นผิว ในรูปถ่าย สีธรรมชาติ และรูปถ่าย อินฟราเรดสี

<!--[if !ppt]--><!--[endif]-->
พื้นผิว
รูปถ่ายสีธรรมชาติ
รูปถ่ายอินฟราเรดสี
พืชพรรณที่สมบูรณ์
พืชใบกว้าง
พืชใบแหลม
เขียว
เขียว
แดงถึงม่วงแดง
น้ำตาลแดงถึงม่วง
พืชผักที่ไม่สมบูรณ์
ช่วงเริ่มต้น
ช่วงแสดงอาการ
เขียว
เขียวเหลือง
น้ำเงินถึงชมพู
น้ำเงินเขียว
ต้นไม้ช่วงฤดูใบไม้ร่วง
เหลืองถึงแดง
เหลืองถึงขาว
น้ำใส
น้ำเงินเขียว
น้ำเงินเข้มถึงดำ
ผิวน้ำเรียบ
เขียวอ่อน
น้ำเงินอ่อน
ดินชื้น
เข้มกว่าเล็กน้อย
เข้มอย่างเห็นได้ชัด
เขตเงาแสง
น้ำเงินและสังเกตรายละเอียดได้
ดำโดยไม่มีรายละเอียดมากนัก
การส่องทะลุผิวน้ำ
ดี
แย่ในช่วง IR ที่เหลือพอกัน
รอยต่อระหว่างผิวน้ำกับพื้นดิน
แย่หรือพอใช้ได้ในการจำแนก
แยกกันออกอย่างชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น